วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552



ประเพณีงานบุญพระเหวด


ประเพณีงานบุญผะเหวด (พระเวส) หรือ "งานบุญเทศน์มหาชาติ" เป็นงานบุญที่สำคัญสำหรับชาวพุทธทั่วประเทศ ทั้งใน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) และ ภาคใต้ จะจัดขึ้นในราวเดือน11 - 12 หลังออกพรรษาของทุกปีส่วนในภาคอีสาน งานบุญผะเหวดเป็นงานบุญที่สำคัญที่สุดในรอบปีของชาวอีสาน ซึ่งจัดขึ้นในเดือน 4 ของทุกปี(ประมาณเดือนมีนาคม - เมษายน ) ตามจารีตประเพณีที่ทำสืบทอดกันมาแต่โบราณเชื่อกันว่า หากผู้ใดได้ฟังเทศน์ผะเหวด หรือเทศน์มหาชาติจบทั้ง 13 กัณฑ์ (มีกัณฑ์ทศพร,กัณฑ์หิมพานต์,กัณฑ์ทานกัณฑ์,กัณฑ์วนประเวศน์,กัณฑ์ชูชก,กัณฑ์จุลพน, กัณฑ์มหาพน, กัณฑ์กุมาร,กัณฑ์มัทรี,กัณฑ์สักกบรรพ,กัณฑ์มหาราช, กัณฑ์ฉกษัตรย์,
และนครกัณฑ์) ภายในวันเดียวและบำเพ็ญความดีผลบุญที่ผู้นั้นได้กระทำลงไป) จะส่งให้บุคคลนั้นได้ไปเกิดร่วมชาติเดียวกับพระพุทธเจ้า
นอกจากจะมีการฟังเทศน์มหาเวสสันดรชาดกเพื่อสืบศาสนาแล้วชาวอีสานยังถือเป็น
ประเพณีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ในวันนี้จึงจัดให้มีพิธีกรรมขอฝนด้วย และในงานบุญพระเวสนี้
นับแต่โบราณคนอีสานนิยมเล่นผีตาโขนด้วยเพราะชาวบ้านจินตนาการว่าในช่วงที่พระเวสสันดร
และพระนางมัทรีเข้าเมืองคงจะมีคนป่าหรือผีป่าที่เคยปรนนิบัติและเคารพรักพระเวสสันดร ร่วม
ขบวนตามไปส่งด้วยในวันงานบุญผะเหวดนี้ชาวบ้านจะนำผ้าพระเวส (ผ้าที่วาดเป็นเรื่องราวในมหาเวสสันดร
ชาดก เหมือนกับภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังแต่วาดลงในผ้า) ไปขึงรอบสิม เพื่อให้ผู้ที่มาร่วมงาน
บุญหลวงได้ปะพรมด้วยน้ำอบน้ำหอม และมีการจัดทำข้าวปุ้นหรือขนมจีนให้ผู้มาร่วมงานบุญได้
กินฟรีกันทุกคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น